28 มิ.ย. 65
163
การเลิกสูบบุหรี่เป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพ เพราะนอกจากจะทำให้สุขภาพของผู้เลิกสูบบุหรี่ดีขึ้นหลาย ๆ ด้านแล้ว ยังช่วยประหยัดเงินให้ผู้สูบบุหรี่ทั้งทางตรงและทางอ้อม ลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
ทำไมคนสูบบุหรี่ถึงติดบุหรี่
ในบุหรี่จะมีสารนิโคตีน ซึ่งจะถูกดูดซึมสู่สมองอย่างรวดเร็วภายในเวลา 5-6 วินาที ซึ่งจะกระตุ้นสารโดปามีนและสารเคมีอื่น ๆ ในสมอง ทำให้รู้สึกว่า มีความสุข ผ่อนคลาย ลดความวิตกกังวลอย่างรวดเร็วเมื่อสูบบุหรี่ และจะลดลงเมื่อไม่ได้สูบ จึงอยากสูบอีกเรื่อย ๆ ประกอบกับทางบริษัทผู้ผลิตบุหรี่มีการพัฒนาปรับแต่งรสชาติ และเพิ่มการดูดซึมที่รวดเร็ว โดยพบว่า 1 ใน 3 ของนักสูบหน้าใหม่จะติดบุหรี่ในระยะยาว ซึ่งโอกาสติดบุหรี่จะสูงกว่าการติดเฮโรอีนเสียอีก
แรงจูงใจที่ตัดสินใจเลิกบุหรี่
ก่อนที่จะแนะนำวิธีการในการเลิกบุหรี่ต้องหาแรงจูงใจของผู้ที่ต้องการจะเลิกบุหรี่ว่าจะเลิกบุหรี่เพราะสาเหตุใด เช่น การคิดถึงสุขภาพตนเองเพื่อไม่ให้เป็นภาระพ่อ แม่ ลูก เมีย หรือเพื่อให้สามารถดูแลพ่อแม่เมื่อแก่เฒ่าได้ หรือแม้แต่การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลของ พ่อ แม่ ในลูกที่เป็นราชการ หรืออาจจะคิดถึงผลกระทบต่อคนที่รัก คิดอยากอยู่กับคนที่รักไปนาน ๆ คิดถึงเงินที่เสียไป ไม่อยากเป็นแบบอย่างที่ไม่ดี คิดถึงภาพลักษณ์ กลัวมีกลิ่นบุหรี่ กลัวโรคเหงือกและฟัน กลัวเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ กลัวมะเร็ง กลัวโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง คิดถึงผลกระทบต่อโรคที่มีอยู่ เช่น เบาหวาน ความดัน โรคไต โรคหัวใจ อัมพาต โรคปอด หรือเตรียมตัวจะผ่าตัด หรือกำลังวางแผนจะมีลูกหรือหลาน คิดถึงผลกระทบต่อทารกในครรภ์ หรือแม้แต่เห็นว่าไม่ดีอยากเลิกโดยอารมณ์อยากเลิก ซึ่งแรงจูงใจส่วนใหญ่ที่ได้ผลส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ผู้สูบบุหรี่เห็นว่ามีความสำคัญโดยจะมีความแตกต่างกันในผู้สูบบุหรี่แต่ละราย
วิธีการให้คำแนะนำการเลิกบุหรี่
สำหรับผู้ที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ ควรให้คำแนะนำในการเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับการหยุดสูบ บุหรี่ ดังนี้
การปฏิบัติตัวสำหรับผู้ที่ต้องการจะเลิกสูบบุหรี่
ความสำเร็จในการเลิกบุหรี่
แพทย์, บุคลากรทางการแพทย์อาจจะยังไม่เข้าใจว่าทำไมผู้สูบบุหรี่ไม่เลิกสูบบุหรี่ทั้ง ๆ ที่เกิดผลเสียมากมาย แต่ความเป็นจริงการที่เขาเลิกไม่ได้เนื่องจากการเสพติดนิโคติน พบว่าการให้ความรู้และแนะนำอย่างเป็นระบบจะช่วยให้ผู้สูบบุหรี่ 100 คน เลิกสูบบุหรี่ได้ในระยะยาวเพียง 3 คน และถ้ามีการใช้สารทดแทนนิโคตินอาจจะลดได้มากขึ้นแต่ไม่เกิน 10 คนจาก 100 คน อีก 90 คนยังไม่สามารถเลิกบุหรี่ในระยะยาวได้ จึงต้องทำความเข้าใจผู้สูบบุหรี่มากขึ้น ไม่ควรว่ากล่าว แต่คอยให้กำลังใจ สนับสนุนในด้านบวก นำประสพการณ์การเลิกบุหรี่ไม่สำเร็จมาใช้ในครั้งต่อไป
การป้องกันการกลับไปสูบบุหรี่ใหม่
ถ้าผู้สูบบุหรี่หยุดสูบบุหรี่ได้ หลังผ่านไป 2 สัปดาห์ ผู้ที่เคยสูบบุหรี่อาจจะไม่มีอาการติดบุหรี่จากการขาดนิโคตีน แต่การที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่เห็นคนสูบบุหรี่ อาจจะคิดถึงการสูบบุหรี่และอยากสูบบุหรี่ใหม่จากความสุขเดิมที่เคยได้รับ แต่ต้องคิดว่าถ้าท่านมีเพื่อน 1 คน เพื่อนคนนี้มาขอเงินเราทุกวันเพียงแต่ชมว่าเราดีให้มีความสุข แต่สุดท้ายก็มาทำร้ายเรา เพื่อนคนนี้น่าคบหรือไม่ เพื่อนคนนี้ก็คือบุหรี่นั่นเอง ดังนั้นถ้าท่านสามารถเลิกคบเพื่อนคนนี้ได้ ก็ไม่ควรกลับไปคบกับเขาอีก
สรุป
ผู้ให้คำแนะนำการเลิกบุหรี่ต้องเข้าใจว่า เรากำลังต่อสู้กับบุหรี่ไม่ใช่ผู้สูบบุหรี่ ต้องเข้าใจและเห็นใจผู้สูบบุหรี่ว่าที่เขายังสูบเพราะเสพติดนิโคติน ในบทบาทหน้าที่ของแพทย์ พยาบาล ทำได้เพียงบอกข้อดี ข้อเสีย ความสำคัญ วิธีการ แต่สุดท้ายการเลิกบุหรี่อาจจะต้องเป็นหน้าที่ของผู้สูบ ได้ใช้ความตั้งใจ เห็นเป้าหมายที่ต้องการเลิกบุหรี่ พยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้พ้นจากการเป็นทาสของบุหรี่ เพราะแม้ว่าการสูบบุหรี่จะให้ความสุขในช่วงสั้น ๆ แต่ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว จงได้คิดว่า “รีบหยุดสูบบุหรี่ก่อนที่บุหรี่จะหยุดคุณ”
ศ. คลินิก นพ. วีระศักดิ์ ศรินนภากร
นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ โรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์
เลขานุการ คณะกรรมการเครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย
กิตติกรรมประกาศ
งานเขียนดังกล่าวส่วนหนึ่งได้รับจากความรู้ที่ได้เข้าร่วมการประชุม “DM & Tobacco Control: Let’s make It happen” ในวันที่ 11 พฤษภาคม 2565 ที่จัดร่วมกันโดยสมาคมวิชาชีพต่างๆ ได้แก่ เครือข่ายวิชาชีพแพทย์ในโครงการการควบคุมการบริโภคยาสูบ เครือข่ายพยาบาลเพื่อการควบคุมยาสูบแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ให้ความรู้โรคเบาหวาน มูลนิธิเภสัชกรรมชุมชน สภาเทคนิคการแพทย์ ต้องขอขอบคุณสมาคมต่าง ๆ วิทยากร ผู้เข้าร่วมการประชุม ที่ได้ร่วมแบ่งประสบการณ์เพื่อให้ผู้นิพนธ์ได้ถ่ายทอดและสรุปเป็นบทความฉบับนี้